ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการภายใน 2-5 เดือน หลังติดเชื้อ ดังนี้
อาการไข้ ตัวเหลือง ตาเหลือง ปวดท้องใต้ชายโครงขวา คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย
ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการรุนแรง เกิดจากการที่เซลล์ตับถูกทำลายเป็นจำนวนมาก ในกรณีนี้อาจทำให้เกิดภาวะตับวายได้
ตับอักเสบระยะเฉียบพลันจะดีขึ้นใน 1-4 สัปดาห์ หากร่างกายไม่สามารถกำจัดเชื้อออกจากร่างกายได้หมด จะกลายเป็นผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี เรื้อรัง
ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่มีอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้ ผลการตรวจเลือดพบค่าการทำงานของตับอาจอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือผิดปกติก็ได้
ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบ บี เรื้อรัง อาจเกิดภาวะตับอักเสบเฉียบพลันแทรกซ้อนได้เป็นระยะ ๆ หากไม่ได้รับการรักษา และอาจกลายเป็นโรคตับแข็ง หรือมะเร็งตับ แล้วเสียชีวิตในที่สุด
มักไม่แสดงอาการ แต่หากมีอาการแสดง อาจมีอาการดังนี้
มีไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร
คลื่นไส้ อาเจียน
ปวดท้องใต้ชายโครงขวา
ตัวเหลือง ตาเหลือง
ผลตรวจภูมิคุ้มกันต่อไวรัสตับอักเสบ ซี (Anti-HCV) เป็นบวก
ตรวจพบไวรัสในเลือด
ส่วนใหญ่มักไม่แสดงอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้
การทำงานของตับมีการอักเสบมากกว่า 6 เดือน
ตรวจพบไวรัสในเลือด
การติดเชื้อจากมารดาสู่ทารก
การสัมผัสเลือดและสารคัดหลั่ง
การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย
การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
การสัมผัสเลือดและสารคัดหลั่ง
การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย
การติดเชื้อจากมารดาสู่ทารก