Logo Logo Logo

HIV INFO HUB

โรคฝีดาษวานร

คำถามที่พบบ่อย

1. ติดต่ออย่างไร

ตอบ ติดจากการสัมผัสแนบชิดกับผู้ป่วย

- ผิวหนัง เช่น ตุ่ม ผื่น แผลที่ผิวหนัง

- อาจมีการติดต่อผ่านทางละอองฝอยจากการพูดคุยในระยะประชิด

- สิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อ เช่น ผ้าเช็ดตัว

ตอบ หลังมีความเสี่ยง จะมีระยะฟักตัวของเชื้อ (5-21 วัน)

มีผื่น มีไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ต่อมน้ำเหลืองโต มีอาการคัน หากมีอาการ...เหล่านี้ ให้รีบพบแพทย์

ตอบ ป้องกันได้ ง่ายมาก

1. ไม่สัมผัสแนบชิดกับผู้ติดเชื้อ

2. ไม่สัมผัสกับผู้ที่มีผื่น ตุ่มหนอง

3. ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย

4. ไม่ใช้ของร่วมกับผู้อื่น

5. ล้างมือบ่อย ๆ

ตอบ ตรวจได้ที่ รพ.ทุกแห่ง รักษาฟรี

สถานที่ตรวจ ที่ รพ.ทุกแห่งทั่วประเทศ

รักษาฟรี ตามสิทธิการรักษา

ตอบ ทุกคนมีความเสี่ยงเท่ากัน หากสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยฝีดาษวานร อยากรู้ใครเสี่ยง Checklist ตามนี้เลย

1. สัมผัสแนบชิดกับผู้ป่วย เช่น มีเพศสัมพันธ์ กอด จูบ ลูบคลำ หรือสัมผัสแผล ตุ่ม หนอง

2. ดูแลผู้ป่วยสงสัยหรือผู้ป่วยฝีดาษวานร

3. นั่งชิด พูดคุยในระยะ1 เมตรกับผู้ป่วย โดยไม่ใส่หน้ากากอนามัย

4. ใช้ของร่วมกับผู้ป่วย เช่น จาน ชาม ช้อน ส้อม แก้วน้ำ เสื้อผ้า เครื่องนอน

5. ถูกผู้ป่วยไอ จาม รดใส่หน้าโดยไม่ใส่หน้ากากอนามัย

*ให้สังเกตอาการ ภายหลังสัมผัสผู้ป่วยภายใน 21 วัน ถ้ามี ไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ต่อมน้ำเหลืองโด ผื่นหรือตุ่ม เกิดขึ้น ให้รีบพบแพทย์ทันที

ตอบ รักษาได้ ที่สำคัญคือรักษาฟรี ตามสิทธิการรักษา

- อาการไม่รุนแรงและไม่มีโรคอื่นร่วมด้วย จะรักษาตามอาการ เช่น มีไข้ กินยาลดไข้

- เสี่ยงสูงอาการรุนแรงหรือมีภาวะแทรกซ้อนจะได้รับยาต้านไวรัสเทคโควิริแมท โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

การรักษาในโรงพยาบาลที่ไม่ใช่สิทธิการรักษาของตัวเอง จะมีค่าใช้จ่ายในรักษาอื่น ๆ นอกเหนือจากค่ายาต้านไวรัสเทคโควิริแมท

ตอบ ผู้ติดเชื้อโรคฝีดาษวานร ผื่นและแผล จะหาย ใช้เวลา 2-4 สัปดาห์ ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันปกติ
ตอบ กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 02 590 3289 สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422

คำถามที่พบบ่อย