hepatitis

การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี

1
การติดเชื้อขณะคลอดจากมารดาที่ติดเชื้อ
2
การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน
3
การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
4
การถูกเข็มที่ติดเชื้อตำ จากการทำงานในสถานพยาบาล
5
การใช้เข็มสักตัวร่วมกัน และเจาะหู
6
การสัมผัสกับเลือดหรือสารคัดหลั่ง โดยผ่านเข้าทางบาดแผล
7
การใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน เช่น มีดโกน กรรไกรตัดเล็บ

NOTE

อย่างไรก็ดี เชื้อนี้ไม่ติดต่อกันทางลมหายใจ อาหาร หรือน้ำดื่ม การให้นม และการจูบกัน (ถ้าปากไม่มีแผล)

อาการของโรคไวรัสตับอักเสบ บี

1. ระยะเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการภายใน 2-5 เดือน หลังติดเชื้อ ดังนี้

  • อาการไข้ ตัวเหลือง ตาเหลือง ปวดท้องใต้ชายโครงขวา คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย
  • ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการรุนแรง เกิดจากการที่เซลล์ตับถูกทำลายเป็นจำนวนมาก ในกรณีนี้อาจทำให้เกิดภาวะตับวายได้
  • ตับอักเสบระยะเฉียบพลันจะดีขึ้นใน 1-4 สัปดาห์ หากร่างกายไม่สามารถกำจัดเชื้อออกจากร่างกายได้หมด จะกลายเป็นผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี เรื้อรัง
  • 2. ระยะเรื้อรัง

  • ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่มีอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้ ผลการตรวจเลือดพบค่าการทำงานของตับอาจอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือผิดปกติก็ได้
  • ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบ บี เรื้อรัง อาจเกิดภาวะตับอักเสบเฉียบพลันแทรกซ้อนได้เป็นระยะ ๆ หากไม่ได้รับการรักษา และอาจกลายเป็นโรคตับแข็ง หรือมะเร็งตับ แล้วเสียชีวิตในที่สุด
  • โรคไวรัสตับอักเสบ ซี

    เกิดจาก
    การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี พบได้บ่อยในผู้ใช้สารเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น และชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย แต่ผู้ป่วยมักจะไม่ทราบมาก่อนว่ามีเชื้อนี้อยู่ในร่างกาย จะทราบก็ต่อเมื่อไปตรวจร่างกายแล้วพบการทำงานของตับผิดปกติ และตรวจเลือดพบการติดเชื้อ
    ช่องทางการติดต่อ
    สามารถติดต่อกันทางเลือด การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน หรือเพศสัมพันธ์ คล้ายกับไวรัสตับอักเสบ บี ไม่ติดต่อกันทางการให้นมบุตร การจาม หรือไอรดกัน การรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำด้วยกัน และการใช้ถ้วยชามร่วมกัน

    ประมาณ 80%
    ของผู้ได้รับเชื้อจะมีการติดเชื้อเรื้อรัง
    มีอาการไม่ชัดเจน ผ่านไปประมาณ 10 – 30 ปี
    จะเริ่มมีตับแข็ง และจะมีโอกาส
    เกิดมะเร็งตับได้ประมาณ 1 – 3 % ต่อปี

    อาการของโรคไวรัสตับอักเสบ ซี

    ระยะเฉียบพลัน

    หลังจากไวรัสตับอักเสบ ซี เข้าสู่ร่างกายแล้วทำให้เกิดการอักเสบของตับ แต่ส่วนมากผู้ป่วยจะไม่มีอาการ มีเพียงประมาณ 25-30 % ของผู้ป่วยที่มีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง ที่เรียกว่า ดีซ่าน ดังนั้นผู้ป่วยส่วนใหญ่จะไม่รู้ว่าตัวเองเกิดการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี แบบเฉียบพลัน

    ระยะเรื้อรัง

    ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี มากกว่า 60% จะเกิดภาวะตับอักเสบเรื้อรัง ซึ่งในระยะแรก ผู้ป่วยมักจะไม่มีอาการจนเมื่อตับถูกทำลายไปมากพอสมควร หรือมีอาการอักเสบของตับมาก ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร

    img_docter_syl

    ไวรัสตับอักเสบ ซี เรื้อรัง

    อันตรายอย่างไร ?

    ทำให้เกิดตับแข็ง

    ไวรัสตับอักเสบ ซี เรื้อรัง ตับจะมีอาการอักเสบ และถูกทำลายไปเรื่อย ๆ จนในที่สุดจะกลายเป็นตับแข็ง ซึ่งถ้าเป็นมากแล้ว ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลียมาก ดีซ่าน ท้องมาน และเกิดตับวายในที่สุด

    ทำให้เกิดมะเร็งตับ

    ไวรัสตับอักเสบ ซี เรื้อรัง มีโอกาสเกิดมะเร็งตับได้มากกว่าคนปกติ และมีรายงานว่า ถ้าผู้ป่วยได้รับการรักษาไวรัสตับอักเสบ ซี เรื้อรังอย่างถูกต้อง สามารถลดโอกาสเกิดมะเร็งตับลงได้

    ผู้ที่มีความเสี่ยง

    ต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี

    ไวรัสตับอักเสบ ซี สามารถติดต่อกันทางเลือดหรือเพศสัมพันธ์
    บุคคลกลุ่มเสี่ยงสูง/ผู้มีพฤติกรรมเสี่ยงสูง ที่มีโอกาสได้รับเชื้อ มีดังนี้
    ผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีด
    ชายมีเพศสัมพันธ์กับชาย
    ผู้ติดเชื้อ HIV
    ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย
    ผู้ที่มีการสักผิวหนัง เจาะหู หรือฝังเข็มด้วยอุปกรณ์ที่ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อ
    บุคลากรทางการแพทย์
    ผู้ที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
    ผู้ที่เคยได้รับเลือด และสารเลือด หรือผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ ก่อนปี พ.ศ. 2535 เนื่องจากยังไม่มีการตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี